วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553




สุภาษิตไทย


เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ



๑.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน เข้าใจเนื้อความได้ทันที คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมาย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


๒.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย






กบในกะลาครอบ

คือ ผู้มีความรู้ประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก




กรวดน้ำคว่ำขัน

คือ  ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย

 

 
เก็บดอกไม้ร่วมต้น

คือ เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ในชาติก่อนจึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้




กินน้ำใต้ศอก
คือ จำต้องยอมเป็นรองเขา ( เมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง )




กิ่งทองใบหยก

คือ เหมาะสมกัน



 **************************************************

คำประสม


คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป และมีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่คำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบท



นาม+นาม หัวใจ


นาม+กริยา บ้านเช่า


นาม+สรรพนาม เพื่อนฝูง


นาม+วิเศษณ์ น้ำแข็ง


นาม + บุพบท คนนอก


วิเศษณ์+กริยา ดื้อดึง


วิเศษณ์ +วิเศษณ์ หวานเย็น

หน้าที่ของคำประสม


๑. ทำหน้าที่เป็นนาม, สรรพนาม เช่น พ่อครัว พ่อบ้าน แม่พระ ลูกเสือ น้ำตก ช่างไม้ ชาวบ้าน เครื่องบิน


หัวใจ นักการเมือง หมอตำแย ของเหลว


๒. ทำหน้าที่เป็นกริยา เช่น เสียเปรียบ กินแรง กินนอกกินใน อ่อนใจ ดีใจ เล่นตัว วางตัว ออกหน้า หักหน้า


ลองดี ไปดี


๓. ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ เช่น กินขาด ใจร้าย ใจเพชร ใจร้อน หลายใจ คอแข็ง


๔. ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น - ก้มหน้า หมายถึง จำทน


แกะดำ หมายถึง คนที่ทำอะไรผิดจากผู้อื่นในกลุ่ม


ถ่านไฟเก่า หมายถึง หญิงชายที่เลิกร้าง


ไก่อ่อน หมายถึง ยังไม่ชำนาญ


นกต่อ หมายถึง คนที่ติดต่อหรือชักจูงผู้อื่นให้หลงเชื่อ

 
การสร้างคำประสม


๑. สร้างจากคำไทยทุกคำ เช่น แม่น้ำ ที่ราบ ลูกช้าง หมดตัว กินที่ แม่ยาย


๒. สร้างจากคำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ เช่น เผด็จการ นายตรวจ ของโปรด


๓. สร้างจากคำภาษาต่างประเทศทั้งหมด เช่น รถเมล์ รถบัส รถเก๋ง กิจจะลักษณะ


๔. สร้างคำเลียนแบบคำสมาส แต่ปนกับคำไทย เช่น ผลไม้ คุณค่า พระอู่ เทพเจ้า พระที่นั่ง ทุนทรัพย์

 
ข้อสังเกตของคำประสม


๑. คำประสมอาจเกิดจากคำต่างชนิดรวมกัน เช่น กินใจ (คำกริยา+คำนาม) นอกเรื่อง (คำบุพบท+คำนาม)


๒. คำประสมเกิดจากคำหลายภาษารวมกัน เช่นรถเก๋ง (บาลี+จีน) เครื่องอิเล็กโทน (ไทย+อังกฤษ)


๓. คำที่ขึ้นต้นด้วย ผู้ นัก เครื่อง ช่าง หมอ ของ เป็นคำประสม เช่น ผู้ดี, นักเรียน, ชาวนา, เครื่องยนต์


ลักษณะของคำประสม


๑. คำประสมที่นำคำมูลที่มีเนื้อความต่างๆ มาประสมกัน แล้วได้ใจความเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น


“หาง” หมายถึง ส่วนท้ายของสัตว์ กับ “เสือ” หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง


รวมกันเป็นคำประสมว่า “หางเสือ” แปลว่า เครื่องถือท้ายเรือ


และคำอื่นๆ เช่น ลูกน้ำ แม่น้ำ แสงอาทิตย์ (งู) เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายต่างกับคำมูลเดิมทั้งนั้น คำประสมพวกนี้ถึงแม้ว่ามีใจความแปลกออกไปจากคำมูลเดิมก็ดี แต่ก็ต้องอาศัยเค้าความหมายของคำมูลเดิมเป็นหลักเหมือนกัน ถ้าเป็นคำที่ไม่มีเค้าความเนื่องจากคำมูลเลย แต่เผอิญมาแยกออกเป็นคำมูลได้นับว่าเป็นคำประสมจะนับเป็นคำมูล


๒. คำประสมที่เอาคำมูลหลายคำซึ่งทุกๆ คำก็มีเนื้อความคงที่ แต่เมื่อเอามารวมกันเข้าเป็นคำเดียวก็มี


เนื้อความผิดจากรูปเดิมไป ซึ่งถ้าแยกออกเป็นคำๆ แล้วจะไม่ได้ความดังที่ประสมกันอยู่นั้นเลย


๓. คำประสมที่เอาคำมูลมีรูปหรือเนื้อความซ้ำกันมารวมกันเป็นคำเดียว คำเหล่านี้บางทีก็มีเนื้อความคล้ายกับคำมูลเดิม บางทีก็เพี้ยนออกไปบ้างเล็กน้อย และอีกอย่างหนึ่งใช้คำมูลรูปไม่เหมือนกัน แต่เนื้อความอย่างเดียวกัน


รวมกันเข้าเป็นคำประสมซึ่งมีความหมายต่างออกไปโดยมาก


๔. คำประสมที่ย่อออกมาจากใจความมาก คำพวกนี้มีลักษณะคล้ายกับคำสมาสเพราะเป็นคำย่ออย่างเดียวกันรวมทั้งคำอาการนามที่มีคำว่าการหรือความนำหน้า


๕. คำประสมที่มาจากคำสมาสของภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ราชกุมาร (ลูกหลวง)


ข้อสังเกต มีคำหลายคำรวมกันเข้าเป็นกลุ่มหนึ่งๆ แต่ไม่ใช่คำประสมเพราะคำเหล่านี้ต่างก็ประกอบกันได้ความตามรูปเดิม

 
วิธีสร้างคำประสม คือ นำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป และเป็นคำที่มีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่โดยใช้คำที่มีลักษณะเด่นเป็นคำหลักหรือเป็นฐาน แล้วใช้คำที่มีลักษณะรองมาขยายไว้ข้างหลัง คำที่เกิดขึ้นใหม่มีความหมายใหม่ตามเค้าของคำเดิม (พวกความหมายตรง) แต่บางทีใช้คำที่มีน้ำหนักความหมายเท่า ๆ กันมาประสมกัน ทำให้เกิดความพิสดารขึ้น (พวกความหมายอุปมาอุปไมย) เช่น


1. พวกความหมายตรง และอุปมา (น้ำหนักคำไม่เท่ากัน)


นาม + นาม เช่น โรงรถ เรืออวน ขันหมาก ข้าวหมาก น้ำปลา สวนสัตว์


นาม + กริยา เช่น รือแจว บ้านพัก คานหาม กล้วยปิ้ง ยาถ่าย ไข่ทอด


นาม + วิเศษณ์ เช่น น้ำหวาน แกงจืด ยาดำ ใจแคบ ปลาเค็ม หมูหวาน


กริยา + กริยา เช่น พัดโบก บุกเบิก เรียงพิมพ์ ห่อหมก รวบรวม ร้อยกรอง


นาม + บุพบท หรือ สันธาน เช่น วงใน ชั้นบน ของกลาง ละครนอก หัวต่อ เบี้ยล่าง


นาม + ลักษณะนาม หรือ สรรพนาม เช่น ลำไพ่ ต้นหน คุณนาย ดวงตา เพื่อนฝูง ลูกเธอ


วิเศษณ์ + วิเศษณ์ เช่น หวานเย็น เปรี้ยวหวาน เขียวหวาน

ใช้คำภาษาต่างประเทศประสมกับคำไทย เช่น เหยือกน้ำ เหยือก เป็นคำภาษาอังกฤษ โคถึก ถึก เป็นคำภาษาพม่า แปลว่า หนุ่ม นาปรัง ปรัง เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ฤดูแล้ง เก๋งจีน จีน เป็นภาษาจีน พวงหรีด หรีด เป็นคำภาษาอังกฤษ



2. พวกความหมายอุปมาอุปไมย


คำประสมพวกนี้มักมีความหมายเป็นสำนวน และมักนำคำอื่นมาประกอบด้วย เช่น หน้าตา ประกอบเป็น หน้าเฉย ตาเฉย นับหน้าถือตา เชิดหน้าชูตา


บางคำประสมกันแล้วหาคำอื่นมาประกอบให้สัมผัสคล้องจองตามวิธีของคนเจ้าบทเจ้ากลอนเพื่อให้ได้คำใหม่เป็นสำนวน เช่น กอดจูบลูบคลำ คู่ผัวตัวเมีย จับมือถือแขนเย็บปักถักร้อย หน้าใหญ่ใจโต ลูกเล็กเด็กแดง


ให้สังเกตว่าที่ยกมานี้คล้ายวลี ทุกคำในกลุ่มนี้มีความหมายแต่พูดให้คล้องจองกันจนเป็นสำนวนติดปาก แต่มีบางคำดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่บางตัวไม่มีความหมายเพียงแต่เสริมเข้าให้คล้องจองเท่านั้น เช่น กำเริบเสิบสาน โกหกพกลม ขี้ปดมดเท็จ รู้จักมักจี่ หลายปีดีดัก ติดสอยห้อยตาม


บางทีซ้ำเสียงตัวหน้าแล้วตามด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นกลุ่มคำที่เป็นสำนวนขึ้น เช่น ตามมีตามเกิด ตามบุญตามกรรม ขายหน้าขายตา ติดอกติดใจ กินเลือดกินเนื้อ ฝากเนื้อฝากตัว

 
**************************************************


วรรณยุกต์ภาษาไทย

          วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า "วรรณยุกต์" ด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้

เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)



เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)


เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)


เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
 
รูปวรรณยุกต์


เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้


ไม้เอก ( -่ ), ไม้โท ( -้ ), ไม้ตรี ( -๊ ) และ ไม้จัตวา ( -๋ )


อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (
) และไม้โท (+) เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)


**************************************************

สระ


สระ คือ เสียงที่เปล่งออกจากลำคอโดยตรง โดยมีริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วยให้เกิดเสียงด้วย



สระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ รูปสระ และเสียงสระ อยากรู้คลิกเลยครับ

รูปสระมี 21 รูป และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
รูปสระ ชื่อ รูปสระ ชื่อ


1.ะ วิสรรชนีย์                             12.ใ ไม้ม้วน


2.อั ไม้หันอากาศ                       13.ไ ไม้มลาย


3.อ็ ไม้ไต่คู้                                14.โ ไม้โอ


4.า ลากข้าง                               15.อ ตัว ออ


5.อิ พินทุ์อิ                                 16.ย ตัว ยอ


6.' ฝนทอง                                 17.ว ตัว วอ


7.อํ นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง      18.ฤ ตัว รึ


8." ฟันหนู                                  19.ฤๅ ตัว รือ


9.อุ ตีนเหยียด                           20.ฦ ตัว ลึ


10.อู ตีนคู้                                 21.ฦๅ ตัวลือ


11.เ ไม้หน้า


เสียงสระ เมื่อนำรูปสระทั้ง 21 รูป มารวมกัน จะได้สระทั้งหมด 32 เสียง จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้



สระแท้ มี 18 เสียง แบ่งออกเป็น


สระเสียงสั้น ได้แก่


อะ


อิ


อึ


อึ


เอะ


เออะ


โอะ


แอะ


เอาะ




สระเสียงยาว ได้แก่


อา


อี


อื


อู


เอ


เออ


โอ


แอ


ออ

สระประสม มี 6 เสียง ได้แก่


เอีย เกิดจากเสียง -ี + -า เอีย


เอียะ เกิดจากเสียง -ิ + -ะ เอียะ


เอือ เกิดจากเสียง -ื + -า เอือ


เอือะ เกิดจากเสียง -ึ + -า เอือะ


อัว เกิดจากเสียง -ู + -า อัว


อัวะ เกิดจากเสียง -ุ + -ะ อัวะ




สระลอย มี 8 เสียง ได้แก่







ฤา





ฦา


อำ


ไอ

ใอ

เอา

**************************************************

พยัญชนะ


หน้าที่ของพยัญชนะ
๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้


๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่


แม่กน มี น เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแทนได้ ได้แก่ น ญ ณ ร ล ฬ




แม่กง มี ง เป็นตัวสะกด




แม่กม มี ม เป็นตัวสะกด




แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกด




แม่กก มี ก เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ก ได้แก่ ก ข ค ฆ




แม่กด มี ด เป็นตัวสะกดและตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ




แม่กบ มี บ เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว บ ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ




เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือพยัญชนะสะกด เช่น




/ก/ มัก มรรค สุก สุด เมฆ /ด/ บาท ชาติ คาด กฎหมาย ปรากฏ




/บ/ บาป พาบภาพ ลาภ กราฟ /ง/ ทาง องค์




/น/ กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ /ม/ คำ ธรรม




/ย/ ได ใย ชัย อาย /ว/ เสา สาว




๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น




๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว


๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์

๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ

๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู )

๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ)

๙. พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ

 
**************************************************


คำอุทาน


คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เน้นความรู้สึก

และอารมณ์ของผู้พูด เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนี้ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ




1. เป็นคำ เช่น โอ๊ย ว้าย แหม โถ เป็นต้น


2. เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย คุณพระช่วย ตายละว้า เป็นต้น


3. เป็นประโยค เช่น ไฟไหมเจ้าข้า ป้าถูกรถชน เป็นต้น






คำอุทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ






1. อุทานบอกอาการ ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆของผู้พูด เช่น






ร้องเรียก หรือบอกเพื่อให้รู้สึกตัว เช่น แน่น เฮ้ โว้ย เป็นต้น


โกรธเคือง เช่น ชิชะ ดูดู๋ เป็นต้น


ตกใจ เช่น ตายจริง ว้าย เป็นต้น


สงสาร เช่น อนิจจา โถ เป็นต้น


โล่งใจ เช่น เฮ้อ เฮอ เป็นต้น


ขุ่นเคือง เช่น อุวะ แล้วกัน เป็นต้น


ทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ เป็นต้น


เยาะเย้ย เช่น หนอย ชะ เป็นต้น


ประหม่า เช่น เอ้อ อ้า เป็นต้น


ชักชวน เช่น นะ น่า เป็นต้น






2. อุทานเสริมบท คือ คำพูดเสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำ เพื่อเน้นความหมาย ของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เช่น อาบน้ำอาบท่า ลืมหูลืมตา กินน้ำกินท่า ถ้าเนื้อความมีความหมายในทางเดียวกัน เช่น ไม่ดูไม่แล ร้องรำทำเพลง เราเรียกคำเหล่านี้ว่า คำซ้อน

 
**************************************************
 
 
คำกริยา
 
 
คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมี



ความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ






ชนิดของคำกริยา คำกริยาแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้






1. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (อกรรมกริยา) เป็นกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ ชัดเจนในตัวเอง เช่น






ครูยืน


น้องนั่งบนเก้าอี้


ฝนตกหนัก


เด็กๆหัวเราะ


คุณลุงกำลังนอน






2. กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ (สกรรมกริยา) เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น






แม่ค้าขายผลไม้


น้องตัดกระดาษ


ฉันเห็นงูเห่า


พ่อซื้อของเล่นมาให้น้อง






3. กริยาที่ต้องมีคำมารับ คำที่มารับไม่ใช่กรรมแต่เป็นส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา) คือ คำกริยานั้นต้องมี


คำนามหรือสรรพนามมาช่วยขยายความหมายให้สมบูรณ์ เช่นคำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่าคือ เสมือน ดุจ เช่น






ชายของฉันเป็นตำรวจ


เธอคือนักแสดงที่ยิ่งใหญ่


ลูกดุจแก้วตาของพ่อแม่


แมวคล้ายเสือ






4. กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์) เป็นคำที่เติมหน้าคำกริยาหลักในประโยคเพื่อช่วยขยายความหมายของคำกริยาสำคัญ


ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคำว่า กำลัง จะ ได้ แล้ว ต้อง อย่า จง โปรด ช่วย ควร คงจะ อาจจะ เป็นต้น เช่น






เขาไปแล้ว


โปรดฟังทางนี้


เธออาจจะถูกตำหนิ


ลูกควรเตรียมตัวให้พร้อม


เขาคงจะมา


จงแก้ไขงานให้เรียบร้อย






ข้อสังเกต กริยาคำว่า ถูก ตามปกติจะใช้กับกริยาที่มีความหมายไปในทางไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกดุ ถูกตำหนิ ถ้าความหมายในทางดีอาจใช้คำว่า ได้รับ เช่น ได้รับคำชมเชย ได้รับเชิญ เป็นต้น






5. กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม (กริยาสภาวมาลา) เป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับคำนาม อาจเป็นประธาน เป็นกรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น






เขาชอบออกกำลังกาย (ออกกำลังกายเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เป็นกรรมของประโยค)


กินมากทำให้อ้วน (กินมากเป็นกริยาที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)


นอนเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอนเป็นกริยาทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)






หน้าที่ของคำกริยา มีดังนี้






1. ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น


2. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น


3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น


4. ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น


5. ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น